วันอาทิตย์ที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2555

หน่วยที่ 2


แนวคิด หลักการและทฤษฎี ของนวัตกรรม


                  "นวัตกรรม" หรือ นวกรรม มาจากคำภาษาอังกฤษว่า "Innovation" โดยคำว่า นวัตกรรม มีรูปศัพท์เดิมมาจากภาษาบาลี คือ นว+อตต+กรรม กล่าวคือ นว แปลว่า ใหม่ อัตต แปลว่า ตัวเอง และกรรม แปลว่า การกระทำ เมื่อรวมคำ นว มาสนธิกับ อัตต จึงเป็น นวัตต และ เมื่อรวมคำ นวัตต มาสมาส กับ กรรม จึงเป็นคำว่า นวัตกรรม แปลตามรากศัพท์เดิมว่า การกระทำที่ใหม่ของตนเอง หรือ การกระทำของตนเองที่ใหม่
(เสาวณีย์ สิกขาบัณฑิต, 2528) ส่วนคำว่า "นวกรรม" ที่มีใช้กันมาแต่เดิม มีรากศัพท์เดิมมาจากคำว่า นว แปลว่า ใหม่ กรรม แปลว่า การกระทำ จึงแปลตามรูปศัพท์เดิมว่าเป็นการปฏิบัติหรือการกระทำใหม่ๆ ในความหมายโดยทั่วไปแล้วสิ่งใหม่ๆ อาจหมายถึงความคิด วิธีปฏิบัติ วัตถุหรือสิ่งของที่ใหม่ ซึ่งยังไม่เป็นที่รู้จักมาก่อน คำว่านวัตกรรมนี้อาจมีผู้ใช้คำอื่นๆ อีก เช่น นวัตกรรม ความจริงแล้วก็เป็นคำ ๆ เดียวกันนั่นเอง
Hughes (1971) อธิบายว่า นวัตกรรม เป็นการนำวิธีการใหม่ ๆ มาปฏิบัติหลังจากได้ผ่านการทดลองหรือได้รับการพัฒนามาเป็นขั้น ๆ แล้ว
โดยมีขั้นตอนดังนี้
1. การคิดค้น (invention)
2. การพัฒนา (Development)
3. นำไปปฏิบัติจริง ซึ่งมีความแตกต่างจากการปฏิบัติเดิมที่เคยปฏิบัติมา
Everette M. Rogers (1983) ได้ให้ความหมายของคำว่า นวัตกรรม (Innovation) ว่า นวัตกรรมคือ ความคิด การกระทำ หรือวัตถุใหม่ ๆ ซึ่งถูกรับรู้ว่าเป็นสิ่งใหม่ๆ ด้วยตัวบุคคลเแต่ละคนหรือหน่วยอื่น ๆ ของการยอมรับในสังคม (Innovation is a new idea, practice or object, that is perceived as new by the individual or other unit of adoption) การพิจารณาว่าสิ่งหนึ่งสิ่งใดเป็นนวัตกรรมนั้น Everette M. Rogers ได้ชี้ให้เห็นว่าขึ้นอยู่กับการรับรู้ของแต่ละบุคคลหรือกลุ่มบุคคลว่าเป็นสิ่งใหม่สำหรับเขา ดังนั้น นวัตกรรมของบุคคลกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งอาจไม่ใช่นวัตกรรมของบุคคลกลุ่มอื่น ๆ ก็ได้ ขึ้นอยู่กับการรับรู้ของบุคคลนั้นว่าเป็นสิ่งใหม่สำหรับเขาหรือไม่
อีกประการหนึ่งความใหม่ (newness) อาจขึ้นอยู่กับระยะเวลาด้วย สิ่งใหม่ๆ ตามความหมายของนวัตกรรมไม่จำเป็นจะต้องใหม่จริงๆ แต่อาจจะหมายถึงสิ่งใดสิ่งหนึ่งที่เป็นความคิดหรือการปฏิบัติที่เคยทำกันมาแล้วแต่ได้หยุดกันไประยะเวลาหนึ่ง ต่อมาได้มีการรื้อฟื้นขึ้นมาทำใหม่เนื่องจากเห็นว่าสามารถช่วยแก้ปัญหาในสภาพการณ์ใหม่นั้นได้ ก็นับว่าสิ่งนั้นเป็นสิ่งใหม่ได้ ดังนั้น นวัตกรรมอาจหมายถึงสิ่งใหม่ๆ ดังต่อไปนี้ 1 สิ่งใหม่ที่ไม่เคยมีผู้ใดเคยทำมาก่อนเลย 2 สิ่งใหม่ที่เคยทำมาแล้วในอดีตแต่ได้มีการรื้อฟื้นขึ้นมาใหม่ 3 สิ่งใหม่ที่มีการพัฒนามาจากของเก่าที่มีอยู่เดิม


หลักการและทฤษฏีที่เกี่ยวข้องกับนวัตกรรมและเทคโนโลยีทางการศึกษา

             นวัตกรรม    คือ  มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล   เช่นเทคนิคและวิธีการใหม่ๆที่จะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงไปสู่สิ่งที่มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลเป็นที่ยอมรับใช้โดยทั่วกัน
นวกรรม  คือ  ความคิดและการกระทำที่ใหม่ๆที่จะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงไปสู่สิ่งที่ดีกว่า
นวกรรมทางการศึกษา  หมายถึง ความคิดและการกระทำใหม่ๆที่จะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงเพื่อจะแก้ปัญหาที่เกิดขึ้น
เทคโนโลยีทางการศึกษา  คือ  การนำความรู้ทางวิทยาศาสตร์มาใช้สำหรับการสอนเพื่อช่วยให้การสอนมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นโดยใช้หลักการทางวิทยาศาสตร์   เพื่อนำมาผลิตอุปกรณ์   เครื่องมือตลอดจนเทคนิคต่างๆ
เทคโนโลยีทางการเรียนการสอน
นวัตกรรมและเทคโนโลยี    คือ  Innotech  การใช้ในการศึกษาคือใช้ในการเรียนการสอนใช้ทั้งสองอย่างร่วมกันด้วยการนำเอาเทคนิคและสิ่งประดิษฐ์ใหม่ๆมาใช้ร่วมกันใช้สื่อเทคนิควิธีการหลากหลาย

หลักการและทฤษฏีแนวคิดที่เกี่ยวกับนวัตกรรมและเทคโนโลยีทางการศึกษา

1.จิตวิทยาทางการศึกษา
        1.1   ทฤษฏีการเรียนรู้
        1.2   ทฤษฏีความแตกต่างระหว่างบุคคล
        1.3    ทฤษฏีการพัฒนาการ
2.ทฤษฏีการสื่อสาร   เกี่ยวกับความต้องการสื่อความหมายให้คนทราบ
3.ทฤษฏีระบบ
4.ทฤษฎีการเผยแพร่

หลักการทฤษฏีทางจิตวิทยาการศึกษา
ทฤษฏีการเรียนรู้มี  2  กลุ่ม
1.       กลุ่มพฤติกรรม
2.       กลุ่มความรู้
        กลุ่มพฤติกรรม
ทฤษฏีการเสริมแรง  ของพาฟลอบ  การปฏิกิริยาตอบสนองอย่างใดอย่างหนึ่งแต่เพียงอย่างเดียวสิ่งเร้านั้นก็อาจจะทำให้เกิดการตอบสนองเช่นนั้น   ได้ถ้าหากมีการวางเงื่อนไขที่ถูกต้อง